หมวด  7

การประชุมใหญ่

ข้อ 59    การประชุมใหญ่  หมายถึง  การประชุมใหญ่สามัญและการประชุมใหญ่วิสามัญ  เมื่อสหกรณ์มีจำนวนสมาชิกเกินกว่าห้าร้อยคน  จะมีการประชุมใหญ่ประกอบด้วยบรรดาสมาชิกหรือการประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิกก็ได้

                                การประชุมใหญ่สามัญ  ให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกบรรดาสมาชิก หรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณี  มาประชุมกันเป็นการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์

            การประชุมใหญ่วิสามัญ  คณะกรรมการดำเนินการจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  เมื่อใดก็สุดแต่จะเห็น สมควรแต่ถ้านายทะเบียนสหกรณ์มีหนังสือแจ้งให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  หรือในกรณีที่สหกรณ์เกิดการขาดทุนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้ว  ต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่สหกรณ์ ทราบ

                                สมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด  หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนหรือผู้แทนสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของผู้แทนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่าห้าสิบคนลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอเพื่อการใดการหนึ่งต่อคณะกรรมการดำเนินการให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้  และให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวัน  นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ

                                ถ้าคณะกรรมการดำเนินการไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย  มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ภายในระยะเวลา ที่เห็นสมควร

17

                                การประชุมใหญ่ตามข้อ 59 ให้ดำเนินการประชุมตามระเบียบของสหกรณ์ว่าด้วยการประชุมใหญ่

ข้อ 60    การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิก  จำนวนผู้แทนสมาชิก และการดำรงตำแหน่งของผู้แทนสมาชิก

(1) สมาชิกในหน่วยงานใน(2) เท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนสมาชิก

(2) ให้กำหนดหน่วยเลือกตั้งออกเป็นหน่วยหรือเขตและให้สมาชิกในหน่วยหรือ  เขตนั้น ๆ เป็นผู้เลือกตั้งตามระเบียบที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด

(3) ให้คณะกรรมการดำเนินการ  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิก

(4) การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกคราวหนึ่ง ๆ ให้กระทำเสร็จภายใน 90 วัน  หลังจากวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ 

จำนวนผู้แทนสมาชิก  สมาชิกแต่ละหน่วยหรือเขตเลือกตั้งผู้แทนของตนโดยอัตราส่วนจำนวนสมาชิกสิบคนต่อผู้แทนสมาชิกหนึ่งคน  ถ้าหน่วยใดมีเศษของอัตราส่วนเกินกึ่งหนึ่งให้มีผู้แทนสมาชิกเพิ่มอีกหนึ่งคน  และจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน

การดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้แทนสมาชิก ให้เป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) มีการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกใหม่

(2) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อคณะกรรมการดำเนินการ

(3) ขาดจากสมาชิกภาพ

(4) สมาชิกในที่ประชุมหน่วยนั้นลงมติถอดถอน

(5) ย้ายหรือโอนไปอยู่หน่วยงานนอกเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอเดิม

ตำแหน่งผู้แทนสมาชิกว่างก่อนถึงคราวออกตามวาระ ถ้าผู้แทนสมาชิกพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ จนทำให้จำนวนผู้แทนสมาชิกเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยคน   หรือเหลือไม่ถึงสามในสี่ของจำนวนผู้แทนสมาชิกทั้งหมด  ก็ให้ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกให้ครบตามจำนวนที่ว่างลง  หรือจะได้ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกให้ครบตามที่กำหนดในวรรคสอง  ก็ได้และให้สมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าที่กำหนดเวลาที่ผู้ซึ่งตนแทนและให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าที่กำหนดเวลาที่เหลืออยู่

ข้อ 61     การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่  เมื่อมีการประชุมใหญ่ทุกคราว ให้สหกรณ์มีหนังสือแจ้งวัน  เวลา  สถานที่  และเรื่องที่จะประชุมให้บรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน  แต่ถ้าการประชุมนั้นเป็นการด่วนอาจแจ้งล่วงหน้าได้ตามสมควร ทั้งนี้ให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการเป็นผู้ลงชื่อในหนังสือนั้น  และต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์  และกรมตรวจบัญชี สหกรณ์ทราบล่วงหน้า  ในโอกาสเดียวกันกับที่แจ้งให้สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบด้วย

18

ข้อ 62    องค์ประชุมในการประชุมใหญ่  การประชุมใหญ่ของสหกรณ์ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของสมาชิกทั้งหมด  หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนหรือมีผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของผู้แทนสมาชิกทั้งหมด   หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนจึงจะเป็นองค์ประชุม

                                ในการประชุมใหญ่คราวใดมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง   ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรกในการประชุมครั้งหลังนี้   ถ้ามิใช่การประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุมแล้ว  เมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทั้งหมด   หรือไม่น้อยกว่าสามสิบคนก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม  แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกร้องขอให้เรียกประชุมเมื่อมีสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกมาประชุมมีจำนวนไม่ถึงที่จะเป็นองค์ประชุมตามที่กล่าวในวรรคแรก  ก็ให้งดประชุม

                                ในกรณีที่ประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก    สมาชิกทั่วไปสามารถเข้าที่ประชุมใหญ่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้  แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงและแสดงความคิดเห็นหรือได้รับการเลือกตั้งใด ๆ ทั้งสิ้น

                                ในการประชุมใหญ่  สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนไม่ได้

ข้อ 63    อำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์  ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้

                (1) รับทราบเรื่องสมาชิกเข้าใหม่   สมาชิกออกจากสหกรณ์  การเลือกตั้งผู้แทนสมาชิกและวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของผู้สมัคร ซึ่งมิได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิก  และสมาชิกที่ถูกให้ออกจากสหกรณ์

(2) พิจารณาเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการและผู้สอบบัญชี      รับอนุญาต

   (3) พิจารณาอนุมัติงบดุล และจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์

                               (4) รับทราบรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ ของคณะกรรมการดำเนินการและรายงานของผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์

(5) พิจารณากำหนดบำเหน็จค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของกรรมการดำเนินการหรือกรรมการอื่นผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์ และผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

(6) พิจารณากำหนดวงเงินซึ่งสหกรณ์อาจกู้ยืมหรือค้ำประกัน

(7) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์

                            (8) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ

                               (10) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ หรือผู้ตรวจการสหกรณ์ หรือผู้สอบบัญชี ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้ง

                         (11) กำหนดรูปการซึ่งสหกรณ์คิดจะทำเป็นเครื่องเกื้อหนุนบรรดาสมาชิก      ตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

บัญชีธนาคารสหกรณ์ฯ
สมาชิกที่ประสงคฺ์จะโอนเงินฝากหรือชำระหุ้น-หนี้เข้าบัญชีสหกรณ์ ท่านสามารถโอนเงินหรือเช็ค ผ่านบัญชีของสหกรณ์ที่ธนาคารต่าง ๆตามรายชื่อธนาคารและ เลขบัญชีประเภทออมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ธนาคาร
สาขา
เลขบัญชี
ธนาคารกรุงไทย สุรินทร์ 310-1-25286-5
โปรดแจ้งสหกรณ์พร้อมส่งสลิปรับฝากของธนาคาร ระบุเลขบัญชี ชื่อบัญชี ที่ต้องการนำฝาก/ชำระหนี้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่การเงินทราบหรือส่งโทรสารพร้อมแจ้งรายละเอียดการนำฝากที่หมายเลข โทรสาร.044-512110 โทร. 044-512981,044-512982 ก่อนเวลา 12.00 น. ของวันที่ทำรายการโอน 

รายการย่อแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน

ภาพกิจกรรม

 

 
16 มกราคม 2567
ณ สถานศึกษาภายในจังหวัดสุรินทร์
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
13 มกราคม 2567
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
23 ธันวาคม 2566
ณ ห้องประชุมชมพูพันธุ์ทิพย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
25 พฤศจิกายน 2566
ณ สหกรณ์ออมทรัพย์คุรุสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ จำกัด
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2566
ณ สวนนงนุช
อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
 
  ดูเพิ่มเติม
   

ตรวจสอบข้อมูลสมาชิก

วารสารสหกรณ์ฯ

ปันผล/เฉลี่ยคืน

รายการ ปี 2566 ร้อยละ
ปันผล 6
เฉลี่ยคืน 14
เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1367722

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

 ประเภทเงินฝาก ร้อยละ 
ออมทรัพย์   2.75
ออมทรัพย์เกษียณมั่นคง  3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 1  3.00
ออมทรัพย์พิเศษ 2  3.10
ออมทรัพย์พิเศษ 3  3.15
ออมทรัพย์พิเศษ 4  2.75
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสมาชิก)
 3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสหกรณ์อื่น)ไม่เกิน
 2.75

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

 ประเภทเงินกู้  ร้อยละ
เงินกู้ฉุกเฉิน 4.75
เงินกู้สามัญทั่วไป 6.50
เงินกู้สามัญ A.T.M. 6.50
เงินกู้สามัญค่าวิทยฐานะ
และค่าตอบแทน
6.50
เงินกู้พิเศษปันผลรายปี 6.50
เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะ 5.00
เงินกู้สามัญเพื่อ
จัดทำกรมธรรม์ประกันเงินกู้
6.00
เงินกู้สามัญเพื่อประกอบอาชีพเสริม 5.50

 

ร้องเรียนหรือแจ้งข้อเสนอแนะ

JSN Epic template designed by JoomlaShine.com