หมวด 8
คณะกรรมการดำเนินการ
ข้อ 64 ให้มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์  ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบสี่คน  ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิก 
          หน่วยเลือกตั้งและจำนวนกรรมการแต่ละหน่วยให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วย  การกำหนดหน่วยเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
          เมื่อที่ประชุมใหญ่เลือกคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แล้ว  ให้ประธานเลือกรองประธานกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน  และเลขานุการคนหนึ่งแล้วจึงแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ 
 
ข้อ 65 ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้  สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์
          (1) เคยผิดนัดการส่งงวดชำระหนี้     ไม่ว่าเงินต้นหรือดอกเบี้ยในระยะเวลาสองปีทางบัญชีนับถึงวันเลือกตั้ง
          (2) เป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างประจำของสหกรณ์
          (3) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยความประมาท หรือความผิดลหุโทษ
          (4) เคยถูกไล่ออก  ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ  องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ฐานทุจริตต่อ หน้าที่
          (5) เคยถูกให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการหรือมีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการตามข้อ 69 (8)
          (6) เคยถูกที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งกรรมการเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่
          (7) เคยเป็นคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก่อให้เกิดความเสียหายต่อสหกรณ์
 
ข้อ 66 อำนาจหน้าที่ของกรรมการดำเนินการแต่ละตำแหน่ง
     (ก) ประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
          (1) เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ และที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และ  ควบคุมการประชุมดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
          (2) ควบคุมดูแลการดำเนินงานทั่วไปของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และอยู่ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
          (3) ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ในนามสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
          (4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์
     (ข) รองประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
         (1) ปฏิบัติการในอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการแทนประธานกรรมการ เมื่อประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อตำแหน่งประธานว่างลง
         (2)  ปฏิบัติการตามที่ประธานกรรมการมอบหมายให้
         (3) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์
     (ค) เลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
         (1) จัดทำรายงานการประชุมใหญ่ และรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  ทุกครั้ง
         (2) ดูแลรักษาเอกสาร และรายการประชุมของสหกรณ์ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
         (3) แจ้งนัดประชุมไปยังบรรดาสมาชิก หรือกรรมการดำเนินการแล้วแต่กรณี
         (4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมายให้ภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งของสหกรณ์
 
ข้อ 67 กำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่ง คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันเลือกตั้ง ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง ให้กรรมการดำเนินการสหกรณ์ออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนหนึ่งในสองของกรรมการดำเนินการดำเนินการสหกรณ์ทั้งหมดโดยวิธีจับฉลาก และให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
          และให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการดำเนินการเข้าดำรงตำแหน่งเท่ากับจำนวนกรรมการที่ออกไป
          เมื่อครบกำหนดแล้ว  หากยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการชุดใหม่ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการชุดเดิม รักษาการไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งกรรมการดำเนินการชุดใหม่
          กรรมการดำเนินการสหกรณ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการเลือกตั้งอีกได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
          กรรมการดำเนินการสหกรณ์ที่มีอยู่ในวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับนี้ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งในวาระแรก
 
ข้อ 68 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่างลงก่อน  ถึงคราวออกตามวาระ  ให้อยู่ในดุลยพินิจของ  คณะกรรมการดำเนินการจะพิจารณา
         ให้กรรมการที่ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน
 
ข้อ 69 การพ้นจากตำแหน่งกรรมการดำเนินการสหกรณ์พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
          (1) จับฉลากออกในวาระแรก
          (2) ถึงคราวออกตามวาระ
          (3) ลาออกโดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ
          (4) ขาดจากสมาชิกภาพ
          (5) เข้ารับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำในสหกรณ์
          (6) เป็นผู้ผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ย
          (7) ที่ประชุมใหญ่มีมติถอดถอนทั้งคณะหรือรายตัว
          (8) นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้ออกทั้งคณะหรือรายตัว
          (9) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
          (10) ถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐ  หรือเอกชนฐานทุจริตต่อหน้าที่
          (11) ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง (ย้าย) ไปดำรงตำแหน่งนอกเขตจังหวัดสุรินทร์
 
ข้อ 70 ถ้าคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ว่างลงเพราะเหตุตามข้อ 69 (8) และเป็นการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ นายทะเบียนสหกรณ์จะแต่งตั้งกรรมการดำเนินการชั่วคราวตามระเบียบกฎหมายของสหกรณ์
          คณะกรรมการดำเนินการชั่วคราว ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคแรกอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและก่อนพ้นจากตำแหน่ง  ให้คณะกรรมการดำเนินการชั่วคราวนั้น เรียกประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งกรรมการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ตามข้อ 64
 
ข้อ 71 การประชุมและองค์ประชุม ให้คณะกรรมการดำเนินการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย
          ให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการ นัดเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการได้ ในกรณีที่เป็นการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบ ข้อบังคับ และเรื่องที่สำคัญอื่น ๆ ของสหกรณ์ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีทราบด้วยทุกคราว
          ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ต้องมีกรรมการดำเนินการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการดำเนินการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
 
ข้อ 72  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ  คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับและตามมติของที่ประชุมใหญ่กับทั้งในทางอันจะทำให้เกิดความจำเริญแก่สหกรณ์ทุกประการ   ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
          (1)  ดำเนินการในเรื่องการรับสมาชิกและสมาชิกออกจากสหกรณ์  ตลอดจนดูแลให้สมาชิกปฏิบัติการต่างๆ  ตามข้อบังคับ   ระเบียบ   และมติของสหกรณ์
          (2) พิจารณาดำเนินการในเรื่องการรับฝาก   การกู้ยืมเงิน   การให้เงินกู้  และการฝากหรือลงทุนเงินของสหกรณ์
          (3) กำหนดและดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมใหญ่และเสนองบดุลกับรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่
          (4)  เสนอการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อขออนุมัติ
          (5) พิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีและนำเสนอที่ประชุมใหญ่อนุมัติ
          (6) พิจารณากำหนดค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พักและค่าเบี้ยประชุมของกรรมการดำเนินการ  คณะกรรมการอื่นๆ  ที่ปรึกษาและที่ปรึกษากิตติศักดิ์
          (7) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งหรือจ้าง  และกำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้จัดการ  เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง  ตลอดจนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้จัดการ  เจ้าหน้าที่และลูกจ้างให้เป็นการถูกต้อง       
          (8) กำหนดระเบียบต่างๆ  ของสหกรณ์
          (9)  จัดให้มีและดูแลให้เรียบร้อยซึ่งบรรดาทะเบียนสมุดบัญชีเอกสารต่างๆ และบรรดาอุปกรณ์ดำเนินงานของสหกรณ์
          (10)  พิจารณาให้สหกรณ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของชุมนุมสหกรณ์
          (11) พิจารณาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ  หรือคณะทำงานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์
          (12)  พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์หรือผู้ตรวจการสหกรณ์หรือผู้สอบบัญชี   หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย
          (13)  พิจารณาให้ความเที่ยงธรรมแก่บรรดาสมาชิก  เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสหกรณ์ตลอดจนดูแลสอดส่องโดยทั่วไป  เพื่อให้กิจการของสหกรณ์ดำเนินไปด้วยดี
          (14)  พิจารณารายงานคณะกรรมการอำนวยการคณะกรรมกการอื่นๆ   หรือผู้ตรวจสอบกิจการหรือความเห็นของผู้จัดการหรือสมาชิกเกี่ยวกับกิจการ   ของสหกรณ์
          (15) เชิญสมาชิกหรือบุคคลภายนอกที่เห็นสมควรเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการดำเนินการตลอดจนกำหนดค่าตอบแทนให้ตามที่เห็นสมควร
          (16) ฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์  หรือประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด
          (17) เสนอแผนงานและเป้าหมายในการดำเนินงาน  รวมทั้งประมาณการรายจ่ายประจำปีต่อที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่อนุมัติ   
          (18) ทำการต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน  ดังระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
          (19)  พิจารณาแต่งตั้งกรรมการดำเนินการเป็นผู้แทนของสหกรณ์   เพื่อเข้าประชุมใหญ่และออกเสียงในการประชุมใหญ่ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และหรือชุมนุมสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์นี้เป็นสมาชิกทั้งนี้ตามข้อบังคับของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยและหรือชุมนุมสหกรณ์กำหนดไว้
         (20) พิจารณามอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานให้แก่ประธานกรรมการ  รองประธานกรรมการ  เลขานุการ  หรือผู้จัดการ  หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตามความเหมาะสม 
 
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการดำเนินการ
ข้อ 73 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ  ถ้ากรรมการดำเนินการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย  คณะกรรมการดำเนินการต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์
          ในกรณีที่กรรมการ  ผู้จัดการ  หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำให้สหกรณ์เสียหาย  ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดี  ให้นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทนสหกรณ์ได้  และให้พนักงานอัยการรับว่าต่างให้สหกรณ์  โดยให้สหกรณ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการร้องทุกข์  ฟ้องคดีหรือการว่าต่างแก่นายทะเบียนสหกรณ์  รองนายทะเบียนสหกรณ์  หรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี
คณะกรรมการอำนวยการ
ข้อ 74  คณะกรรมการอำนวยการ   ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน  รองประธานกรรมการ  เลขานุการหนึ่งคน  และกรรมการอื่นรวมไม่เกิน 5 คน  เป็นกรรมการอำนวยการ
           ให้คณะกรรมการอำนวยการประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ  แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย  และให้ประธานกรรมการอำนวยการ   หรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้  ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ต้องมีกรรมการอำนวยการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการอำนวยการ   ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
           ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการอำนวยการ   ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบ
 
ข้อ 75   อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ  ห้คณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทนคณะกรรมการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย และตามข้อบังคับ ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
            (1) ควบคุมในเรื่องการรับเงิน   การจ่ายเงิน   การสะสมเงิน   การฝากเงิน   หรือการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์
            (2)  ควบคุมการจัดทำบัญชี  และทะเบียนต่างๆ  ของสหกรณ์ให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
            (3)  ควบคุมดูแลเก็บรักษาเอกสารหลักฐานต่างๆ    ตลอดจนทรัพย์สินของสหกรณ์  ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย   และพร้อมที่จะนำมาให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ทันที
            (4)  เสนอแนะคณะกรรมการดำเนินการในการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริหารงานของสหกรณ์
            (5) ควบคุมดูแลการจัดทำงบดุลรวมทั้งบัญชีกำไรขาดทุนและรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่
            (6) พิจารณาการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์  เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณา
            (7) จัดทำแผนงานและงบประมาณประจำปีของสหกรณ์  เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณารับรองและนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติ
            (8) ทำนิติกรรมต่างๆ  เกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการมอบหมาย 
 
คณะกรรมการเงินกู้
ข้อ 76 คณะกรรมการเงินกู้  ให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการของสหกรณ์จำนวน  ไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการเงินกู้  โดยให้มีตำแหน่งประธานกรรมการคนหนึ่ง  และเลขานุการคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นกรรมการ
          ให้คณะกรรมการเงินกู้ประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ  แต่ต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็น   อย่างน้อย  และให้ประธานกรรมการเงินกู้หรือเลขานุการเรียกประชุมได้
          ในการประชุมคณะกรรมการเงินกู้   ต้องมีกรรมการเงินกู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเงินกู้ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
          ข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการเงินกู้ให้นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการทราบในการประชุมในคราวถัดไป
 
ข้อ 77 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเงินกู้  ให้คณะกรรมการเงินกู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุมัติเงินกู้แก่สมาชิกตามข้อบังคับ  ระเบียบ  มติ  และคำสั่งของสหกรณ์รวมทั้งข้อต่อไปนี้
          (1) ตรวจสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
          (2) ตรวจสอบควบคุมให้เงินกู้มีหลักประกันตามที่กำหนด ไว้ในระเบียบของสหกรณ์  และเมื่อเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่องก็ต้องกำหนดให้ผู้กู้จัดการแก้ไขให้คืนดี
          (3) ดูแลการชำระหนี้ของสมาชิกผู้กู้ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
          (4) สอบสวนเบื้องต้นให้ได้ข้อความจริง  ในกรณีสมาชิกผู้กู้ขอผ่อนเวลาการส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้หรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้  เพื่อเสนอความเห็นให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาผ่อนผันหรือเรียกคืนเงินกู้หรือสอบสวนลงโทษให้สมาชิกออกจากสหกรณ์
คณะกรรมการศึกษา
ข้อ 78 คณะกรรมการศึกษา  ให้คณะกรรมการดำเนินการตั้งกรรมการดำเนินการจำนวนไม่เกินห้าคนเป็นคณะกรรมการศึกษา  โดยให้มีตำแหน่งเป็นประธานคนหนึ่งและเลขานุการคนหนึ่ง  นอกนั้นเป็นกรรมการ
          ให้คณะกรรมการศึกษาประชุมกันตามคราวที่มีกิจธุระ  แต่จะต้องมีการประชุมกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อยและให้ประธานกรรมการหรือเลขานุการนัดเรียกประชุมได้
          ในการประชุมคณะกรรมการศึกษา  ต้องมีกรรมการมาประชุม  ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของคณะกรรมการศึกษาทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
          ให้คณะกรรมการศึกษารายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการดำเนินการทราบในการประชุมคราวถัดไป
 
ข้อ 79  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษา   ให้คณะกรรมการศึกษามีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามข้อบังคับตลอดจนระเบียบของสหกรณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนมติ   และคำสั่งของคณะกรรมการดำเนินการซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้
           (1) ให้การศึกษาอบรมสมาชิกและผู้ที่สนใจให้ทราบถึงเจตนารมณ์  หลักวิธีการและการบริหารงานของสหกรณ์
           (2) ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกและบุคคลภายนอกได้ทราบถึงผลงานของสหกรณ์ที่ได้ดำเนินงานไป
           (3) ดำเนินการในการหาผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก
           (4) ให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิกถึงวิธีการออมทรัพย์และการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบตลอดจนวิชาการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ
           (5) ศึกษาและติดตามข่าวคราวเคลื่อนไหวด้านการดำเนินงานสหกรณ์อื่นทั้งในและนอกประเทศ เพื่อนำตัวอย่างที่ดีมาเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณานำมาบริการแก่สมาชิก
ประธานในที่ประชุม
ข้อ 80 ประธานในที่ประชุม ในการประชุมใหญ่ หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินการให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุมและถ้ารองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมด้วย ก็ให้ที่ประชุมเลือกตั้ง กรรมการดำเนินการคนหนึ่งขึ้นเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะการประชุมในคราวนั้น
          ในการประชุมคณะกรรมการอื่นๆ เช่น คณะกรรมการอำนวยการ  คณะกรรมการกู้เงิน  คณะกรรมการศึกษา ให้ประธานคณะกรรมการนั้นๆเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานคณะกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมก็ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน ในที่ประชุมเฉพาะการประชุมคราวนั้น
การออกเสียงและการวินิจฉัยปัญหาในที่ประชุม
ข้อ 81 การออกเสียง สมาชิกหรือกรรมการดำเนินการหรือกรรมการอื่นๆออกเสียงในที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ได้เพียงคนละหนึ่งเสียง จะมอบให้ผู้อื่นมาประชุมและออกเสียงแทนตนไม่ได้ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
          ถ้าปัญหาซึ่งที่ประชุมวินิจฉัยนั้น ผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเฉพาะตัวผู้นั้นจะออกเสียงในเรื่องนั้นไม่ได้
 
ข้อ 82 การวินิจฉัยปัญหา  เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นพิเศษในข้อบังคับนี้ การวินิจฉัยปัญหาต่างๆในที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ   หรือที่ประชุมคณะกรรมการอื่นๆให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่กรณี   ต่อไปนี้ให้ถือเสียงสองในสามของจำนวนสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกที่มาประชุม
         (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
         (2) การเลิกสหกรณ์
         (3) การแยกสหกรณ์
         (4) การควบสหกรณ์
 
รายงานการประชุม
ข้อ 83 รายงานการประชุม  ในการประชุมใหญ่ หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ หรือการประชุมคณะกรรมการอื่นๆนั้น ต้องจัดให้ผู้เข้าประชุมลงลายมือชื่อพร้อมทั้งบันทึกเรื่องที่พิจารณาวินิจฉัยทั้งสิ้นไว้ในรายงานการประชุม และให้ประธานในที่ประชุมกับกรรมการดำเนินการหรือกรรมการอื่น ๆ แล้วแต่กรณีอีก คนหนึ่งที่เข้าประชุมนั้นๆลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

ตรวจสอบข้อมูลสมาชิก

ปันผล/เฉลี่ยคืน

รายการ ปี 2566 ร้อยละ
ปันผล 6
เฉลี่ยคืน 14
เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1389036
JSN Epic template designed by JoomlaShine.com