หมวด   4
การดำเนินงาน
ข้อ 9 การลงลายมือชื่อแทนสหกรณ์   การลงลายมือชื่อเพื่อให้มีผลผูกพันสหกรณ์   เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นพิเศษตามข้อบังคับนี้  ให้ปฏิบัติดังนี้ 
       (1) หนังสือกู้ยืมซึ่งสหกรณ์เป็นผู้กู้ยืม   ตลอดจนการเบิกหรือรับเงินกู้  การจำนองซึ่งสหกรณ์เป็นผู้จำนอง  การถอนเงินฝากของสหกรณ์และในนิติกรรมอื่นๆ  จะต้องลงลายมือชื่อของประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการ  หรือเลขานุการ  หรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้จัดการรวมสองคน
       (2) การรับฝากเงิน  ใบรับเงิน  และเอกสารทั้งปวง  นอกจากที่กล่าวไว้ใน (1)  ข้างบนนี้   จะต้องลงลายมือชื่อของผู้จัดการและ / หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
       อนึ่ง ในหนังสือกู้ยืมซึ่งสหกรณ์เป็นผู้กู้ยืม  ใบสั่งจ่ายเงิน   ใบรับเงิน  ตั๋วสัญญาใช้เงินและตราสารการเงินของสหกรณ์นั้น  ต้องประทับตราของสหกรณ์เป็นสำคัญด้วย     
                                   
วงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกัน
ข้อ 10 วงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกัน ที่ประชุมใหญ่อาจกำหนดวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกัน  สำหรับปีหนึ่ง ๆ  ไว้ตามที่จำเป็นและสมควรแก่การดำเนินงาน  วงเงินซึ่งกำหนดดังว่านี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์
          ถ้าที่ประชุมใหญ่ยังมิได้กำหนด  หรือนายทะเบียนสหกรณ์ยังมิได้ให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ยืมสำหรับปีใด  ก็ให้ใช้วงเงินกู้ยืมสำหรับปีก่อนไปพลาง
 
ข้อ 11  การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกัน  สหกรณ์อาจกู้ยืมเงิน  หรือออกตั๋วสัญญาใช้เงิน  หรือตราสารการเงิน  หรือโดยวิธีอื่นใดสำหรับใช้เป็นทุนดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ได้  ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร  ทั้งนี้  จะต้องอยู่ภายในวงเงินกู้ยืมหรือการค้ำประกันประจำปีตามข้อ
 
การรับฝากเงิน
ข้อ 12 การรับฝากเงิน สหกรณ์อาจรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์  ออมทรัพย์พิเศษ หรือเงินฝากประจำ จากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้น  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์
 
การให้เงินกู้
ข้อ 13 การให้เงินกู้  สหกรณ์อาจให้เงินกู้แก่
         (1) สมาชิกของสหกรณ์
         (2) สหกรณ์อื่น
         การให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้น ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้ได้โดยผู้กู้จะต้องทำประกันชีวิตตามข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์
         ข้อกำหนดต่าง ๆ  เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้  หลักประกันสำหรับเงินกู้ลำดับแห่งการให้เงินกู้  เงินงวดชำระหนี้สำหรับเงินกู้  และข้อกำหนดอื่น ๆ  ว่าด้วยการให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
         การให้เงินกู้แก่สหกรณ์อื่นนั้น   คณะกรรมการดำเนินการ  จะพิจารณาให้กู้ได้ต่อเมื่อสหกรณ์มีทุนเหลือจากการให้กู้แก่สมาชิกแล้ว
สมาชิกหรือสหกรณ์อื่น  ซึ่งประสงค์จะขอกู้เงินจากสหกรณ์นี้  ต้องเสนอคำขอกู้เงินตามแบบและระเบียบของสหกรณ์ที่กำหนดไว้
 
ข้อ 14 ความมุ่งหมายแห่งเงินกู้  เงินกู้ซึ่งให้สมาชิกไม่ว่าประเภทใด  จะให้ได้แต่เฉพาะเพื่อการอัน จำเป็นหรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร
         ให้คณะกรรมการดำเนินการสอดส่อง      และกวดขันการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้ตรงตามความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
 
ข้อ 15 ประเภทและจำกัดแห่งเงินกู้  สหกรณ์อาจให้กู้แก่สมาชิกได้ตามประเภทและจำกัด  ดังต่อไปนี้
         (1) เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน  ในกรณีที่สมาชิกมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุอันจำเป็นรีบด่วน  และมีความประสงค์ขอกู้เงิน  คณะกรรมการดำเนินการอาจให้เงินกู้เพื่อเหตุนั้นได้ตามระเบียบของสหกรณ์
         (2) เงินกู้สามัญ  ในกรณีที่สมาชิกมีความประสงค์ขอกู้เงินสำหรับใช้จ่ายเงิน  เพื่อการอันจำเป็น  หรือมีประโยชน์ต่างๆ  คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณา  ให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกนั้นได้ตามระเบียบของสหกรณ์ 
         (3) เงินกู้พิเศษ  เมื่อสหกรณ์มีฐานะทางการเงินก้าวหน้า  พอที่จะช่วยเหลือให้เงินกู้เพื่อส่งเสริมฐานะความมั่นคงหรือเพื่อการเคหะ  หรือก่อประโยชน์งอกเงยแก่สมาชิกได้  โดยจำนวนเกินกว่าจำกัดที่สมาชิกนั้นอาจได้รับเงินกู้สามัญ (ตามที่กล่าวมาใน (2) ข้างบนนี้ ) คณะกรรมการดำเนินการอาจให้เงินกู้พิเศษแก่สมาชิกนั้นได้ตามที่เห็นสมควร โดยผู้ขอกู้ต้องระบุความมุ่งหมายแต่ละอย่างของเงินกู้ประเภทนี้ ตลอดจนเงื่อนไขและวิธีการ  และต้องมีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
 
ข้อ 16 ดอกเบี้ยเงินกู้  ให้สหกรณ์เรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทที่ให้แก่สมาชิกในอัตราตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
 
ข้อ 17 การควบคุมหลักประกันและการเรียกคืนเงินกู้  ให้คณะกรรมการดำเนินการตรวจตราควบคุมให้เงินกู้ทุกรายมีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่า หลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่อง ผู้กู้จะต้องจัดการแก้ไขให้คืนดีภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
         ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเงินกู้ไม่ว่าประเภทใด ๆ เป็นอันถึงกำหนดส่งคืนโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งดอกเบี้ยในทันที โดยมิพักต้องคำนึงถึงกำหนดเวลาที่ให้ไว้ และให้คณะกรรมการดำเนินการจัดการ  เรียกคืนโดยมิชักช้า
         (1)  เมื่อสมาชิกผู้กู้ออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใด  ๆ
         (2) เมื่อปรากฏต่อคณะกรรมการดำเนินการว่าผู้กู้นำเงินกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้ เงินกู้นั้น
         (3) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่องและผู้กู้มิได้จัดการแก้ไขให้คืนดีภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
         (4) เมื่อค้างส่งเงินงวดชำระหนี้ ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเวลาถึงสองเดือนหรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ดังว่านั้นถึงสามคราวสำหรับเงินกู้รายหนึ่ง ๆ
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกัน ต้องรับผิดชำระหนี้แทนผู้กู้ตามที่กล่าวในวรรคก่อนและไม่สามารถชำระหนี้นั้นโดยสิ้นเชิงได้ เมื่อผู้ค้ำประกันร้องขอ คณะกรรมการดำเนินการอาจผ่อนผันให้ผู้ค้ำประกันชำระเป็นงวดรายเดือนจนครบจำนวนตามที่ผู้กู้ได้ทำหนังสือกู้ให้ไว้ต่อสหกรณ์ก็ได้
 
ข้อ 18 ความผูกพันของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน  ผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันต้องรับผูกพันว่า ถ้าตนประสงค์จะ  ขอโอนหรือย้าย หรือลาออกจากราชการ  หรืองานประจำตามข้อ 31 (3) จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้สหกรณ์ทราบ  และจัดการชำระหนี้สินซึ่งตนมีอยู่ต่อสหกรณ์ให้เสร็จสิ้น เสียก่อน (เว้นแต่กรณีที่ยังคงเป็นสมาชิกอยู่ตามข้อ  43)
 
การฝากหรือลงทุนเงินของสหกรณ์
ข้อ 19 การฝากหรือการลงทุนเงินของสหกรณ์ เงินของสหกรณ์นั้นสหกรณ์อาจฝากหรือลงทุนได้ตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์  ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์  โดยให้คำนึงถึงความมั่นคงและประโยชน์สูงสุดที่สหกรณ์หรือสมาชิกจะได้รับ
 
การเงินและการบัญชีของสหกรณ์
ข้อ 20 การบัญชีของสหกรณ์  ให้สหกรณ์จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ให้สิ้นสุด  ณ  วันที่ 30 พฤศจิกายน  ของทุกปี
          เมื่อสิ้นสุดทางบัญชีทุกปีให้สหกรณ์จัดทำงบดุล รวมทั้งบัญชี กำไรขาดทุน ตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์  กำหนด
 
ข้อ 21 การเสนองบดุลต่อที่ประชุมใหญ่  ให้คณะกรรมการดำเนินการเสนองบดุล  ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบและรับรองแล้วต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อพิจารณาอนุมัติภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี 
          การเสนองบดุลให้คณะกรรมการดำเนินการเสนอรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของ สหกรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ด้วย
          ให้สหกรณ์ส่งสำเนางบดุลที่เสนอต่อที่ประชุมใหญ่นั้นไปยังสมาชิกทุกคน  และให้เปิดเผย  ณ  สำนักงานของสหกรณ์ก่อนวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
          ให้สหกรณ์ส่งสำเนารายงานประจำปี    แสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์กับงบดุลไปยัง    นายทะเบียนสหกรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมใหญ่
          อนึ่ง  ให้เก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสหกรณ์กับงบดุลไว้ที่สำนักงานสหกรณ์เพื่อให้สมาชิกขอตรวจดูได้
กำไรสุทธิประจำปี
ข้อ  22   การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี  เมื่อสิ้นปีทางบัญชีและได้ปิดบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่  รับรองทั่วไป  แล้วปรากฏว่าสหกรณ์มีกำไรสุทธิ   ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของกำไรสุทธิและเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิ
             กำไรสุทธิประจำปีที่เหลือจากการจัดสรรตามความ   ในวรรคก่อนนั้น ที่ประชุมใหญ่อาจจะ จัดสรรได้ ดังต่อไปนี้
            (1) เป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้วแต่ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยคิดให้ตามส่วนแห่งระยะเวลา  อนึ่ง ถ้าสหกรณ์ถอนทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลตาม (4)  ออกจ่ายเป็นเงินปันผลสำหรับปีใดด้วยจำนวนเงินปันผลทั้งสิ้นที่จ่ายสำหรับปีนั้นก็ต้องไม่เกินอัตราดังกล่าวมาแล้ว
            ในการคำนวณเงินปันผลตามหุ้นให้ถือว่าสมาชิกได้ชำระต่อสหกรณ์ ในวันใดให้มีระยะเวลา  สำหรับคำนวณเงินปันผลตั้งแต่ในวันนั้นเป็นต้นไป
            (2) เป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนจำนวนรวมแห่งดอกเบี้ยเงินกู้  ซึ่งสมาชิกนั้น ๆได้ส่งแก่สหกรณ์ในระหว่างปี แต่สมาชิกที่ผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยในปีใดมิให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น
            (3) เป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่และลูกจ้างสหกรณ์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิ
            (4) เป็นทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลไม่เกินร้อยละสองแห่งทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ตามที่มีอยู่ในวันสิ้นปีนั้น จนกว่าจะมีจำนวนถึงร้อยละแปด  แห่งทุนเรือนหุ้นดังกล่าว ทุนรักษาระดับอัตราเงินปันผลนี้จะถอนได้โดยมติแห่งที่ประชุมใหญ่เพื่อจ่ายเป็นเงินปันผลตามหุ้น  ตาม (1)
            (5) เป็นทุนสาธารณประโยชน์ไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิทุนสาธารณประโยชน์นี้ให้สหกรณ์สะสมไว้สำหรับใช้จ่ายเพื่อการศึกษาโดยทั่วไป  หรือเพื่อการศึกษาอบรมทางสหกรณ์หรือสาธารณประโยชน์หรือการกุศลตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
            (6) เป็นทุนเพื่อจัดตั้งสำนักงานหรือกองทุนต่างๆเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่สหกรณ์
            (7) กำไรสุทธิส่วนที่เหลืออยู่(ถ้ามี) ให้สมทบเป็นทุนสำรองทั้งสิ้น 
 
ทุนสำรอง
ข้อ 23 ที่มาแห่งทุนสำรอง  นอกจากการจัดสรรกำไรสุทธิตามข้อ 22  แล้ว   บรรดาเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้แก่สหกรณ์ ถ้าผู้ยกให้มิได้ระบุว่าให้ใช้เพื่อการใดโดยเฉพาะก็ให้สมทบเป็นทุนสำรองทั้งสิ้น 
          อนึ่ง จำนวนเงินซึ่งสหกรณ์พึงจ่ายแก่บุคคลใดก็ตาม ถ้าไม่มีการเรียกร้องจนพ้นกำหนดอายุความก็ให้สมทบจำนวนเงินนั้นเป็นทุนสำรอง
          กำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเสนอแนะให้ที่ประชุมใหญ่จัดสรรตามข้อ 22 หากที่ประชุมใหญ่พิจารณาแล้วเห็นว่ารายการใดไม่สมควรจัดสรรหรือตัดจำนวนให้น้อยลงก็ดี ยอดเงินจำนวนดังกล่าวให้สมทบเป็นทุนสำรองทั้งสิ้น
 
ข้อ 24 ทุนสำรอง  จะถอนจากบัญชีทุนสำรองได้  เพื่อชดเชยการขาดทุนหรือเพื่อจัดสรรเข้าบัญชี ทุนสำรองให้แก่สหกรณ์ใหม่ที่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกจากสหกรณ์เดิม  ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์กำหนด
 
ทะเบียน  บัญชี  และเอกสารอื่น ๆ
ข้อ 25 ทะเบียนและบัญชี  ให้สหกรณ์มีทะเบียนสมาชิก  ทะเบียนหุ้น  และทะเบียนอื่น ๆตลอดจนสมุดรายงานการประชุม  และบัญชีตามแบบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด  และตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรให้มีขึ้น
         เมื่อมีเหตุต้องบันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับกระแสเงินสดของสหกรณ์ให้บันทึกรายการในวันที่เกิดเหตุนั้น สำหรับเหตุอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับกระแสเงินสดให้บันทึกรายการในสมุดบัญชีภายในสามวัน นับแต่วันที่มี เหตุอันจะต้องบันทึกรายการนั้น
         การลงรายการบัญชีต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์โดยครบถ้วน
         เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสมาชิกหรือทะเบียนหุ้นให้สหกรณ์แจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนสหกรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์
         สมาชิกอาจขอตรวจดูเอกสารในวรรคก่อนได้  ณ  สำนักงานของสหกรณ์ในระหว่างเวลาทำงาน แต่จะดูบัญชีหรือทะเบียนเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น  เงินฝาก  หรือเงินกู้  ของสมาชิกรายอื่นไม่ได้นอกจากจะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของสมาชิกนั้น และได้รับอนุญาตจากผู้จัดการก่อน
 
ข้อ 26 กฎหมายและข้อบังคับ ให้สหกรณ์จัดให้มีพระราชบัญญัติสหกรณ์และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ซึ่งคงใช้อยู่  กับข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์นี้ไว้ ณ สำนักงานของสหกรณ์ สมาชิกและผู้สนใจอาจขอตรวจดูได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
การตรวจสอบบัญชีและการตรวจตราควบคุม
ข้อ 27 การตรวจสอบบัญชี บัญชีของสหกรณ์นั้นต้องได้รับการตรวจสอบอย่างน้อยปีละครั้งโดยผู้สอบบัญชีซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้ง
 
ข้อ 28 การตรวจตราควบคุม นายทะเบียนสหกรณ์  รองนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ หรือผู้สอบบัญชีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ คณะกรรมการดำเนินการ คณะกรรมการอื่น ๆ ผู้ตรวจสอบกิจการ  ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และสมาชิกของสหกรณ์มาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์  หรือให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือรายงานการประชุมได้ ทั้งอาจเรียกและเข้าร่วมประชุมใหญ่ หรือประชุมคณะกรรมการดำเนินการ หรือประชุมคณะกรรมการอื่น ๆ ตลอดจน ตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีทะเบียน เอกสาร และใบสำคัญต่าง ๆ ของสหกรณ์ได้
              ทั้งนี้ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องตามความในวรรคแรก  อำนวยความสะดวกและชี้แจงข้อความในเรื่องเกี่ยวกับ กิจการของสหกรณ์ให้ทราบตามความประสงค์
 
ข้อ 29 การส่งรายการหรือรายงาน ให้สหกรณ์ส่งรายการหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ต่อหน่วยงานที่กำกับดูแล ตามแบบและระยะเวลาที่หน่วยงานนั้นกำหนด
บัญชีธนาคารสหกรณ์ฯ
สมาชิกที่ประสงคฺ์จะโอนเงินฝากหรือชำระหุ้น-หนี้เข้าบัญชีสหกรณ์ ท่านสามารถโอนเงินหรือเช็ค ผ่านบัญชีของสหกรณ์ที่ธนาคารต่าง ๆตามรายชื่อธนาคารและ เลขบัญชีประเภทออมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
ธนาคาร
สาขา
เลขบัญชี
ธนาคารกรุงไทย สุรินทร์ 310-1-25286-5
โปรดแจ้งสหกรณ์พร้อมส่งสลิปรับฝากของธนาคาร ระบุเลขบัญชี ชื่อบัญชี ที่ต้องการนำฝาก/ชำระหนี้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่การเงินทราบหรือส่งโทรสารพร้อมแจ้งรายละเอียดการนำฝากที่หมายเลข โทรสาร.044-512110 โทร. 044-512981,044-512982 ก่อนเวลา 12.00 น. ของวันที่ทำรายการโอน 

รายการย่อแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน

ภาพกิจกรรม

 

 
วันพฤหัสบดีที่ 11 เดือนเมษายน พ.ศ. 2567
ณ สหกรณ์ออมทรัพย์คุรุสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ จำกัด
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
ระหว่างวันที่ 04-07 เดือนเมษายน พ.ศ. 2567
ณ สำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจันทบุรี จำกัด
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดจันทบุรี
 
 
ระหว่างวันที่ 22-23 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567
ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพ
กรุงเทพมหานครฯ
 
 
ระหว่างวันที่ 22-26 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ณ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานครฯ
และสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขลำพูน จำกัด
 
 
16 มกราคม 2567
ณ สถานศึกษาภายในจังหวัดสุรินทร์
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
 
13 มกราคม 2567
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์
 
  ดูเพิ่มเติม
   

ตรวจสอบข้อมูลสมาชิก

วารสารสหกรณ์ฯ

ปันผล/เฉลี่ยคืน

รายการ ปี 2566 ร้อยละ
ปันผล 6
เฉลี่ยคืน 14
เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1395367

อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

 ประเภทเงินฝาก ร้อยละ 
ออมทรัพย์   2.75
ออมทรัพย์เกษียณมั่นคง  3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 1  3.00
ออมทรัพย์พิเศษ 2  3.10
ออมทรัพย์พิเศษ 3  3.15
ออมทรัพย์พิเศษ 4  2.75
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสมาชิก)
 3.20
ออมทรัพย์พิเศษ 4
(สำหรับสหกรณ์อื่น)ไม่เกิน
 2.75

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

 ประเภทเงินกู้  ร้อยละ
เงินกู้ฉุกเฉิน 4.75
เงินกู้สามัญทั่วไป 6.50
เงินกู้สามัญ A.T.M. 6.50
เงินกู้สามัญค่าวิทยฐานะ
และค่าตอบแทน
6.50
เงินกู้พิเศษปันผลรายปี 6.50
เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะ 5.00
เงินกู้สามัญเพื่อ
จัดทำกรมธรรม์ประกันเงินกู้
6.00
เงินกู้สามัญเพื่อประกอบอาชีพเสริม 5.50

 

ร้องเรียนหรือแจ้งข้อเสนอแนะ

JSN Epic template designed by JoomlaShine.com